วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

ชื่อสกุล..................................................................... รหัส....................................... วิชา.................................. กลุ่ม .......................

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รายวิชา 423312 การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

คำสั่ง : ให้นิสิตเขียนอธิบายคำตอบลงในกระดาษ (ส่งท้ายชั่วโมง) และนำเสนอบน Blogger ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
(5 คะแนน) งานเดี่ยว

1.อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญ ๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

-1. การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สาหรับบริการ

2. การผลิตสื่อเพื่อนามาใช้ในการเรียนการสอน

3. การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทาทะเบียน

4. การบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์

5. การให้คาปรึกษา แนะนาการใช้และการผลิตสื่อ

6. การวิจัยและพัฒนาสื่อ

**********************

2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง

-1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทา การจัดดาเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทางบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดหาสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คาปรึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก

3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ การประเมินการบริการ เป็นต้น

4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจาเป็นให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา

5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง

**********************

3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สาคัญได้กี่ประเภท

- ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้ส่วนใหญ่บุคลากรกลุ่มนี้จะทาหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร

2 บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ

3 บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทาหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจานวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จานวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสำคัญ

**********************

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย

-ในการจัดหาสื่อมาไว้บริการภายในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีระบบ ระเบียบ สามารถแบ่งออกเป็นขันตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่

1. การสำรวจสื่อวัสดุ (Materials) การสำรวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ

- ชนิดของวัสดุ

- ชื่อเรื่อง

- แหล่งที่เก็บ (Location)

- แหล่งที่ได้มา

- สภาพการใช้งานปัจจุบัน

2. การสำรวจเครื่องมือ (Equipments)

- ชนิดของเครื่องมือ

- แบบ/รุ่น

- แหล่งที่เก็บ

- แหล่งที่ได้มา

- จำนวน

- สภาพการใช้งานปัจจุบัน

ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทากิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอานวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง

ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนาข้อมูลที่ได้ไปดาเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอ การสารวจความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนสามารถทาได้หลายลักษณะ ได้แก่

1. การสัมภาษณ์ ซักถามเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย

2. การสังเกต เป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ต้องการข้อมูลสามารถนามาใช้เพื่อเก็บข้อมูลโดยดูจากพฤติกรรมการใช้สื่อที่มีมาแต่เดิม

3. การใช้แบบสอบถาม เป็นการสำรวจที่ได้รายละเอียดมากกว่าแบบอื่นๆ

ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนาข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทาเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป ในการจัดซื้อผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาตามลาดับความสาคัญของผู้ใช้โดยจัดซื้อเฉพาะสื่อที่มีคุณภาพ ประหยัดงบประมาณ ก่อนจัดซื้อสื่ออะไรมาไว้บริการจะต้องมีการประเมินค่าสื่อนั้น โดยคณะกรรมการประเมินค่าสื่อเพื่อพิจารณาว่าสื่อหรือวัสดุอุปกรณ์มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงไร มีข้อดีและข้อจากัดอย่างไรเพื่อให้การจัดซื้อจัดหาสื่อมาไว้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

**********************

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สาคัญ อะไรบ้าง

-ในการจัดซื้อผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาตามลาดับความสาคัญของผู้ใช้โดยจัดซื้อเฉพาะสื่อที่มีคุณภาพ ประหยัดงบประมาณ ก่อนจัดซื้อสื่ออะไรมาไว้บริการจะต้องมีการประเมินค่าสื่อนั้น โดยคณะกรรมการประเมินค่าสื่อเพื่อพิจารณาว่าสื่อหรือวัสดุอุปกรณ์มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงไร มีข้อดีและข้อจากัดอย่างไรเพื่อให้การจัดซื้อจัดหาสื่อมาไว้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

สื่อประเภทโสตทัศฯปกรณ์จะมีราคาแพงต้องใช้งบประมาณสูงในการจัดซื้อ จัดหาดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อมาไว้บริการจึงควรพิจารณาคุณสมบัติและการใช้งานให้ละเอียดถี่ถ้วนโดยพิจาณายึดเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ คือ

1). ความคงทน (Ruggedness) โดยพิจารณาถึงวัสดุที่ประกอบเป็นตัวเครื่องให้ความคงทนแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย

2). ความสะดวกในการใช้งาน (Ease of Operation) โดยพิจารณาถึงการควบคุม การบังคับกลไกไม่ซับซ้อนจนเกินไปหรือมีปุ่มต่างๆมากมายเกินไป

3). ความกะทัดรัด (Portability) โดยพิจารณาถึงขนาดของตัวเครื่อง น้าหนัก ความสะดวกในการเก็บและเคลื่อนย้าย

4). คุณภาพของเครื่อง (Quality of Peration) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานที่ประกอบรวมกันเป็นไปตามคุณสมบัติต้องการใช้งานเพียงใด

5). การออกแบบ (Design) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับรูปลักษณ์ว่าสวยงามมีความทันสมัย การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบออกแบบให้ใช้ได้ง่าย

6). ความปลอดภัย (Safety) เป็นการพิจารณาว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งที่น่าจะเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายได้ง่ายขณะใช้งาน

7). ความสะดวกในการบำรุงรักษาละซ่อมแซม (Ease of Maitenance and Repair) เป็นการพิจารณาว่ามีส่วนประกอบใดที่ยุ่งยากต่อการซ่อมแซมหรือมีความยากลาบากในการดูแลรักษาหรือมีส่วนประกอบที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเมื่อชารุดแล้วไม่สามารถซ่อมแซมได้เลย

8). ราคา (Cost) ในการจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาใช้หรือเพื่อบริการควรคำนึงถึงราคาซึ่งไม่แพงเกินไปที่สำคัญพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานแล้วจึงนาไปเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับราคาและคุณภาพของเครื่องมืออุปกรณ์นั้น

9). ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต (Reputation of Manufacturer) การพิจารณาบริษัทผู้ผลิตเพื่อจะได้ทราบว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ซื้อนั้นมีจานวนและรุ่นที่ผลิตออกมามากน้อยพียงใด หากเป็นบริษัทที่มั่นคงมีชื่อเสียงจะเห็นได้ว่ามีระบบการผลิต ระบบการจัดการอื่นๆ ที่ได้มาตรฐาน ทาให้วัสดุอุปกรณ์มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ

10). การบริการซ่อมแซม (Available Service) อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ควรเป็นแบบที่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย รวดเร็วและมีบริการดูแลบำรุงรักษาที่เอาใจใส่ดูแลบำรุงสม่ำเสมอและมีอะไหล่สารองไว้เพียงพอหรือเมื่อมีปัญหาทางบริษัทสามารถแก้ปัญหาให้รวดเร็ว

**********************

6. การบริหารบุคคล หมายถึงอะไร

- ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทางานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ

**********************

7. หลักการบริหารงานบุคคลมีกี่ระบบอะไรบ้าง

- แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ

1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์

1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก

1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน

1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ

1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท

2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ

**********************

8. การจำแนกตำแหน่งได้กี่ประเภท

- แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น

2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ

3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์

**********************

9. ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนกำลังคนได้แก่อะไรบ้าง

- 1.ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ: กระบวนการวางแผนกาลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกาหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ

2.การตรวจสภาพกาลังคน ; ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกาลังคนที่มีอยู่ในองค์การ เช่น จานวนตาแหน่ง อัตรากาลังคน ความสามารถของพนักงานที่มีอยู่

3.การพยากรณ์ความต้องการกาลังคน คล้ายกับการตรวจสภาพกาลังคน แต่การพยากรณ์มุ่งเน้นอนาคต จะอาศัยปัจจัยต่อไปนี้เพื่อช่วยในการพยากรณ์คือ

1).ปริมาณการผลิต

2).การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

3).อุปสงค์และอุปทาน

4).การวางแผนอาชีพให้แก่พนักงาน Career Planning

4.การเตรียมหาคนสาหรับอนาคต อาจทาได้ดังนี้

1).การฝึกอบรมพัฒนาพนักงานที่มีอยู่ ช่วยขวัญกาลังใจ แผนอาชีพ

2).การสรรหาคัดเลือกบุคคลจากภายนอกตลาดแรงงาน

**********************

10. การวางแผนกำลังคนที่ดีต้องทราบอะไรบ้าง

-1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน

2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง

3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จาเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จาเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตำแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification

4.รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ

5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก

6. การทาให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทางาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทา

**********************

11. บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภท

- มี 3 ประเภท คือ

1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทา การจัดดาเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทางบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงานเพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์สื่อการศึกษาที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดหาสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คาปรึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก

3. บุคลากรด้านการผลิตสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3-4-5 รายวิชา 423312 Learning Resources Center Management

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ 3 ประเภทคือ

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สาหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดาเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่

- ศูนย์สื่อการศึกษา หรือหน่วยบริการสื่อการศึกษา

- ศูนย์โสตทัศนศึกษา หรือหน่วยโสตทัศนศึกษา

- ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา หรือหน่วยเทคโนโลยีการศึกษา

- ศูนย์วิทยาการหรือสถาบันวิทยบริการ

- ศูนย์ทรัพยากรการศึกษา หรือศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สาหรับการศึกษานอกระบบ

เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัย

เป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ต่างกันที่กลุ่มเป้าหมาย

- ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

- ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผล

- ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือ แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ

3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆพร้อมแหล่งอ้างอิง

ตอบ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การศึกษาในระบบ

1. สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนสถานที่ตั้งโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม กลุ่มเป้าหมาย

- การอบรม / สัมนา / ศึกษาดูงาน

- โครงงานนักเรียน / นักศึกษา

- งานวิจัย

แหล่งอ้างอิง http://www.siamtech.ac.th/subpage/siam_tree/index.html

2. ธนาคารโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม สถานที่ตั้ง โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม กลุ่มเป้าหมายเพื่อ นักเรียน ครู ศึกษาดูงานผู้ที่สนใจ

แหล่งอ้างอิง http://www.siamtech.ac.th/academic_sec/photto_album09.html

3. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในโรงเรียน สถานที่ตั้ง แม่ปะวิทยาคม

แหล่งอ้างอิง http://slc.ipst.ac.th/maepa/

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การศึกษานอกระบบ

1. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 3 จังหวัดชลบุรี กลุ่มเป้าหมาย เพื่อประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ

แหล่งอ้างอิง http://www.svtc.go.th/th/link.php

2. ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชลบุรี กลุ่มเป้าหมายนักเรียนนักศึกษา สถานที่ตั้ง จังหวัดชลบุรี

แหล่งอ้างอิง http://chon.nfe.go.th/

3. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค1 สมุทรปราการ ประชาชนทั่วไปที่ว่างเว้นจากงานประจำ หรือผู้ที่ยังมิได้ประกอบอาชีพ

แหล่งอ้างอิง http://archeep-nutmag10.blogspot.com/2011/01/1.html

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การศึกษาตามอัธยาศัย

1. กับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป

แหล่งอ้างอิง http://www.ndmi.or.th/

2. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 กลุ่มเป้าหมาย 1. ประชาชนทั่วไป หรือกลุ่มครอบครัว (Walk In)

2. โรงเรียน สถาบันการศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นหมู่คณะ

แหล่งอ้างอิงhttp://www.nsm.or.th/nsm2009/index.php?option=com_nsmcontents&views=article&id=1184&Itemid=76&lang=th

4. ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้

ตอบ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

4.1 นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์

- วิสัยทัศน์ของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของ บ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะ"เครือญาติ" กับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพใน ภูมิภาค

- กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คนไทย ประกอบด้วยเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มเป้าหมายรอง คือ คนต่างประเทศ นักท่องเที่ยว

4.2 แหล่งที่มาของศูนย์

- รัฐบาลมีภารกิจที่สำคัญ คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้ไทยมี คุณภาพด้วยการที่สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นสังคมจึงควรมีแหล่งที่จะแสวงหาความรู้ที่มีความหลากหลายในรูปแบบและ เนื้อหา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากจะมีแหล่งแสวงหาความรู้สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย และมีความสนใจต่างๆ โดยมีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์นันทนาการและกีฬา โรงละคร หอศิลป์ และสถานที่แสดงดนตรี รวมทั้งสนับสนุนให้ ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจ สำหรับประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยสถาบันใหม่ที่จะมารองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) เพราะคุณภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้คุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้สามารถเข้าใจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจปัญหาที่เผชิญหน้าควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน ประเทศจึงต้องการ "พิพิธภัณฑ์" ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ที่สะท้อนความมั่นคงของสังคม วัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตน และความภาคภูมิใจในสังคมของตน

5. ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้

5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.edu.buu.ac.th/lrc/index1.html

โครงสร้าง เป็นแบบLine Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบอำนาจหน้าที่กันเป็นขั้น ๆ จากระดับสูงสุดไปจนกระทั่งต่ำสุด

2. สำนักวิทยบริการสำนักหอสมุดและศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นhttp://www.library.kku.ac.th/web/historykkulib.php การบริหารจัดการที่ทันสมัยที่สุด สร้างประโยชน์สูงสุดต่องานวิชาการด้านการเรียนการสอน

ศึกษาดูงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา



มหาวิทยาลัยบูรพา

ประวัติ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย พัฒนามาจากห้องอ่านหนังสือ ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยใช้ห้องเลขที่ 203 ในอาคารเรียนของวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่อาคารอำนวยการ โดยได้ใช้ห้องชั้นล่างของอาคารเป็นที่ปฏิบัติงานจนถึงปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ในห้องโถงชั้นล่างของอาคารเรียนซีกหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 วิทยาลัยได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นเอกเทศ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2516

เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ วิทยาเขตบางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา ตามลำดับนั้น ในปีงบประมาณ 2536-2539 สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ อาคารเทพรัตนราชสุดาและเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538


สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

สำนักหอสมุดแบ่งการดำเนินดังนี้

สำนักงานเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

สำนักงานเลขานุการ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานได้แก่ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล จัดทำแผนและงบประมาณ อาคารสถานที่และยานพาหนะ ประชาสัมพันธ์ การเงินบัญชีและพัสดุ โดยอำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่างสำนักหอสมุดกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบงาน 4 ลักษณะดังนี้วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยี ทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุด โดยการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับการพัฒนางาน งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การพัฒนาหรือบริหารงานห้องสมุดงานฐานข้อมูล ดูแลรับผิดชอบฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ฉบับเต็ม ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษระปริญญาตรี และฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการสารสนเทศ รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์สำนักหอสมุดงานเว็บไซต์ ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดงานบริการดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้หน่วยงานต่าง ๆทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติบริการการติดตั้งรวมถึงดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการที่ร้องของานฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากรในระดับต่าง ๆ


ฝ่ายบริการสารสนเทศ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ฝ่ายบริการสารสนเทศ ทำหน้าที่ให้บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์ แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ ดังนี้

งานยืม-คืน

บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

รับสมัครสมาชิกห้องสมุด

ตรวจสอบหนี้สินของสมาชิกห้องสมุด

แจ้งสื่อเกินกำหนดส่งและแจ้งวันกำหนดส่งสื่อล่วงหน้าแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย

ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากร

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ทำหน้าที่วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิธีการต่าง ๆ มา ใช้ในการดำเนินงานสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย

ฝ่ายเอกสารและวารสาร

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ฝ่ายเอกสารและวารสาร มีขอบเขตความรับผิดชอบดำเนินการคัดเลือก การจัดหา ตรวจรับลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และจดหมายข่าว การจัดทำรายการบรรณานุกรมวารสาร การจัดทำดัชนีวารสารการจัดทำหน้าสารบัญวารสาร การจัดทำวารสารสถาบันฉบับเต็ม การเย็บเล่มวารสาร และการดูแลห้องอ่านวารสาร

ฝ่ายโสตทัศนศึกษา

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ฝ่ายโสตทัศนศึกษา เป็นหน่วยงานหนึ่งในงานบริการการศึกษา สังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา บริการยืม-คืน สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สมาชิก บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ โดยให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ตลอดจน ให้บริการ VIDEO/CD on Demand รายการภาพยนตร์ และนิทรรศการออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด